โรงงานผลิตครีม ในยุคที่ใครๆก็เป็น CEO หรือเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัวได้ด้วยพลังแห่งโลกออนไลน์ ธุรกิจอย่างหนึ่งที่ไปได้สวยบนโลกออนไลน์ก็คือการ “ขายครีมแบรนด์ตัวเอง” วันนี้ Top Review จะมาเจาะลึกเกี่ยวกับธุรกิจครีมตั้งแต่ ทำความเข้าใจการรับผลิตครีม OEM/ODM , การเริ่มต้นสร้างแบรนด์ครีมทำอย่างไร ? , สร้างแบรนด์ครีม ลงทุนเท่าไร ? พร้อมแนะนำโรงงานผลิตครีม 10 แห่งที่ดีที่สุด ใครอยากเริ่มต้นเส้นทางธุรกิจขายครีม อ่านให้จบนะครับ
-
บริษัท รีโว่เมด ประเทศไทย จำกัด
บริการรับผลิตครีมระดับพรีเมียม ที่ให้บริการแบบครบวงจรโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและคอยดูแลอย่างใกล้ชิด คิดค้นและพัฒนาสูตรคุณภาพ และคัดสรรวัตถุดิบที่ดีสุดเพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 061-662-4242
• LINE : @revomed
เพิ่มเติม : Revomed
-
บริษัท เอส วี เอส อินโนเทค จำกัด
โรงงานที่ได้รับรองมาตรฐาน GMP มีบริการครบวงจรแบบ ONE-STOP SERVICE มีทีมพัฒนาและวิจัยสูตรผลิตภัณฑ์ยังศึกษาหาข้อมูลและแหล่งสารประกอบ
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 096-694-2899
• LINE : @svs888
เพิ่มเติม : SVSInnotech
-
บริษัท เอ็มพีซี อินโนเวชั่น แลบ จำกัด
โรงงานที่มีเจ้าของเป็นนักวิจัยสูตรผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยเฉพาะ มีบริการแบบครบวงจร ซึ่งทางโรงงานจะเน้นการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เป็นหลัก นอกจากนี้บริษัทยังมีบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องสำอางไว้ให้เจ้าของแบรนด์ได้เลือกใช้อีกด้วย
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 081-559-1546
• LINE : @mpc.lab
เพิ่มเติม : MPC
-
บริษัท คัซซูติก จำกัด
โรงงานรับผลิตครีมคุณภาพสูง ที่มีทีมงานคอยดูแลอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอนแบบครบวงจร พร้อมทีมงานวิจัยและพัฒนามืออาชีพ มีผู้เชี่ยวชาญด้านสารประกอบ สามารถปรึกษาสูตรครีม อาหารเสริมและส่วนประกอบต่างๆได้อย่างละเอียด
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 061-636-5479
• LINE : @cuzzutic
เพิ่มเติม : Cuzzutic
-
บริษัท ไบโอติคอน จำกัด
โรงงานผลิตครีม และเครื่องสำอางที่มีมืออาชีพในการทำบริการต่าง ๆ ในแต่ละด้านอย่างครบวงจร พร้อมบริการด้านการตลาดที่ครบเครื่อง
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 099-356-9156
• LINE : @bioticon
เพิ่มเติม : Bioticon
-
บริษัท พรีมา แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ให้บริการในรูปแบบทั้ง OEM และ ODM ทั้งยังเป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบครีม และบรรจุภัณฑ์ครีม มีบริการแบบ One Stop Service และได้รับรองมาตรฐานสากล
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 080-810-8109
• LINE : @premacare
เพิ่มเติม : PremaCare
-
บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด
โรงงานได้มาตรฐานระดับสากล มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตครีมโดยเฉพาะ พร้อมบริการแบบ One-Stop Service
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 093-451-6242
• LINE : @creameryplus
เพิ่มเติม : Creamery Plus
-
บริษัท โควิก เคทท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
โรงงานผลิตครีม แบบครบวงจร ทั้งยังเป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบระดับพรีเมียมเองจากทั่วโลก มีทีมผู้เชี่ยวชาญทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักเคมี เภสัชกรช่วยวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 02-521-7888-9
• LINE : @kovic
เพิ่มเติม : Kovic Kate
-
บริษัท เอสเธติค ซีเครท (แอท-ซี) จำกัด
โรงงานรับผลิตครีม และเวชสำอาง มีทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชสำอาง และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา คิดค้น และวิจัย พร้อมบริการแบบครบวงจร ที่บริการแบบที่เดียวจบ
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 02-116-4256
• LINE : @at-ze
เพิ่มเติม : AT-ZE
-
บริษัท พีซีซีเอ แล็บบอราเทอรี่ จำกัด
โรงงานผลิตครีมคุณภาพที่ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 5 โรงงาน ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จากกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2561
• เบอร์ติดต่อโรงงาน : 064-205-1666
• LINE : @pcca
เพิ่มเติม : PCCA
สร้างแบรนด์ครีมของตัวเอง เริ่มต้นอย่างไร กับ โรงงานผลิตครีม
หัวข้อนี้ขอแยกเป็น ;
A. ก่อนได้ผลิตภัณฑ์ (ช่วงผลิตสินค้า)
B. หลังได้ผลิตภัณฑ์ (ช่วงการขายสินค้า)
ใครสนใจเป็นเจ้าของแบรนด์ควรอ่านหัวข้อนี้ให้จบนะ
A. เริ่มต้นสร้างแบรนด์ครีม ช่วงก่อนได้ผลิตภัณฑ์ (ช่วงผลิตสินค้า)
ช่วงผลิตสินค้า เป็นช่วงตั้งแต่ การตัดสินใจเลือกชนิดผลิตภัณฑ์ที่อยากขาย จนไปถึงติดต่อโรงงานเผื่อผลิตสินค้าจนเสร็จสมบูรณ์พร้อมขาย 100% ซึ่งเชื่อไหมคะ ในการเริ่มสร้างแบรนด์ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ง่ายที่สุด เพียงคุณมีเงินก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ , เป็น CEO ของผลิตภัณฑ์ตัวเองได้แล้ว ข้อกฎหมายต่างๆในบ้านเรา ก็ไม่ปิดกั้น ให้บุคคลธรรมดาขายสินค้าแบรนด์ตัวเองแต่อย่างใด (ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบบริษัท) ทำให้ง่ายเข้าไปอีก ในการที่จะเป็นเจ้าของแบรนด์ครีม/เครื่องสำอาง
ส่วนขั้นตอนคร่าวๆในช่วง A จะเป็นดังนี้ ;
-
เลือกสินค้าที่ชอบ
อันดับแรกเราควรรู้ว่าเราต้องการขายครีมประเภทไหนก่อน มีสรรพคุณอย่างไร มีจุดเด่นอะไร กลุ่มลูกค้าที่เราสนใจคือเป็นลูกค้ากลุ่มไหน เพื่อที่เราจะได้วางแผนภาพแบรนด์ของเราคร่าว ๆ และปรึกษากับทางฝ่ายขายของทางโรงงานได้ถูก
-
เลือกสูตรที่ถูกใจ
โดยส่วนมากแล้วทางโรงงานจะมีสูตรมาตรฐานให้ทางลูกค้าเลือกหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นประเภทครีม ชนิดเนื้อครีม สรรพคุณเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า เราสามารถเลือกสูตรครีมที่ถูกใจและสามารถดำเนินการขั้นต่อไปได้เลย แต่ถ้าหากเรายังไม่มีสูตรที่ถูกใจ ในส่วนนี้เราสามารถจ้างทางทีมวิจัยของทางโรงงานเพื่อพัฒนาสูตรขึ้นมาใหม่ได้เช่นเดียวกันว่าอยากได้ครีมแบบไหน ใส่สารอะไร คุณสมบัติพิเศษ เป็นต้น
-
ยื่นขอจดแจ้งอย.
เมื่อได้สูตรที่ถูกใจแล้ว ทางโรงงานจะทำการดำเนินเอกสารเพื่อขอ อย.ให้ โดยจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อทำการจดแจ้ง ระหว่างที่เรากำลังรอจด อย. เราสามารถวางแผนการตลาดได้เลยอาทิเช่น ช่องทางการขาย ช่องทางการโปรโมทสินค้าและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ในส่วนนี้หากไม่แน่ใจว่าจะต้องทำอะไรบ้างทางโรงงานเองก็มีทีมการตลาดคอยดูแลค่ะ
-
ออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์
หลังจากที่ได้เลข อย. แล้วคุณสามารถทำการออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ ได้เลย คุณสามารถจ้างทีมออกแบบเอง จ้างทีมของทางโรงงานให้ออกแบบเลยก็ได้ทั้งออกแบบฉลากสินค้า หรือกล่องผลิตภัณฑ์ คุณสามารถกำหนดได้ว่าอยากได้แบบไหน วัสดุการพิมพ์แบบไหนเพื่อให้ตรงใจคุณที่สุด
-
พร้อมปล่อยสินค้าออกสู่ตลาด
สินค้า ฉลากและบรรจุภัณฑ์พร้อม คุณก็สารมารถทำการขายตามช่องทางต่าง ๆ และโปรโมท ที่คุณวางแผนไว้แล้วเบื้องต้น จากนั้นควรเตรียมแผนทำสต็อกในส่วนนี้คุณสามารถปรึกษาทีมงานฝ่ายโลจิสติกส์ให้ประเมินว่าเมื่อของคุณเหลือเท่าไหร่ คุณควรเติมสต็อค หรือเริ่มออเดอร์มาเพื่อไม่ให้ของขาด เพื่อที่สินค้านั้นจะได้ไม่ขาดช่วงหลังจากเข้าสู่ตลาดแล้วนั่นเองค่ะ
B. ช่วงหลังได้ผลิตภัณฑ์ (ช่วงขายสินค้า)
ใครจะอยู่ ใครจะไป . . . ใครจะกำไร ใครจะขาดทุน อยู่ที่ช่วง B นี่แหละค่ะ เพราะเมื่อได้สินค้าแล้ว ไม่มีใครรับประกันได้ว่า คุณจะไปต่อในธุรกิจครีมได้นอกจากตัวคุณเอง (บริษัทไหนที่บอกว่า การันตีการตลาด ยอดขายปังชัวร์ 100% หรือมีการตลาดช่วยเหลือจนขายได้ อย่าไปเชื่อนะคะ เพราะถึงช่วยก็แค่ผิวเผิน ไม่ได้การันตีว่าคุณจะกำไรในการขาย **เจ๊งกันมานักต่อนักแล้ว กับคำหลอกลวงของผู้รับทำการตลาด**)
ช่วง B นี้สรุปเป็นหัวข้อได้ยาก เพราะจริงๆแล้ว ทักษะใครทักษะมัน ชำนาญช่องทางการขายคนละด้าน ขั้นตอนก็จะออกมาคนละอย่างกัน แต่จะพยายามสรุปให้เป็นหัวข้อๆ แล้วเอาไปประยุกข์ใช้กันเอง และจะไม่พูดถึงกลุ่มเป้าหมายนะคะ เพราะแบรนด์ครีมส่วนใหญ่เวลาขาย ขายให้กับคนทุกกลุ่มกันอยู่แล้ว
-
เลือกช่องทางการขายสินค้า
การเลือกช่องทางการขายสำคัญที่สุด โดยเลือกช่องทางการขายที่เราถนัดที่สุดและคิดว่าคุณจะขายจากช่องทางนี้ได้โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก ใช้สิ่งที่มีหรือความรู้ของคุณเองเป็นหลัก โดยดูที่ว่าเราเก่งด้านไหน มีอะไรพอจะเป็นอาวุธได้บ้าง เช่น
• หน้าตาดี พูดเก่ง -> Live สดขายของก็มีคนดู
• เก่ง IT ทำเว็บไซต์เป็น -> ทำเว็บไซต์ขายของเองได้
• ยิง Ads เฟสบุ๊คเก่ง -> ทำเพจขายของในเฟส แล้วยิงโฆษณาก็ขายได้
• วางระบบและหาตัวแทนเก่ง -> ทำทีมตัวแทนขายสินค้า แบ่งกำไรกันเป็นทอดๆ
หากคุณรู้ว่าตัวเองเก่งอะไรที่สามารถสร้างยอดขายได้ โอกาศไปต่อก็สูงครับ แต่ถ้าไม่มีความสามารถอะไรเลย หวังว่าจะแค่โพสในโซเชียล หรือ ขายเพื่อน , ขายคอนเนคชั่นตัวเอง อย่าเริ่มสร้างแบรนด์ของตัวเองเลยครับ ลองเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของแบรนด์อื่นไปก่อนดีกว่า
-
การตั้งราคาขายและคำนวนต้นทุน
ผลิตภัณฑ์ครีม/สกินแคร์เป็นสินค้าที่กำไรสูง (แต่แลกมาด้วยการแข่งขันที่สูงมาก เช่นกัน) คุณควรกำไร 3-5 เท่าของราคาต้นทุนสินค้า (กรณีขายปลีก) หากขายเป็นล็อตใหญ่ อาจตั้งเรทราคา 10 ชิ้น / 50 ชิ้น / 250 ชิ้น / 500 ชิ้น โดยกำไรก็ลดหลั่นกันไปตามจำนวนการซื้อที่มากขึ้น
นั่นแน่ เห็นว่ากำไร 3-5 เท่าแล้ว อาจจะคิดว่าต้องกำไรเยอะไมขาดทุนอย่างแน่นอน แต่อย่าลืมว่าเรายังไม่ได้คำนวนหักค่าการตลาด ค่าโฆษณาต่างๆ ค่าลงทุนสร้างแบรนด์ ค่าพรีเซ็นเตอร์ นู้นนี่นั่นอีกมากมาย ซึ่งก็ต้องย้อนกลับไปดูข้อ A ว่าตัวเองเก่งด้านไหน ใช้ทุนในการทำการตลาดเท่าไหร่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าอยากอยู่รอด ต้องให้ขายแล้วได้กำไร ไม่ใช่ติดลบ (บางแบรนด์ขายไปขายมา ขาดทุน ค่าการตลาด ค่าโฆษณา)
ซึ่งจริงๆแล้วมีเรื่องให้เขียนอีกเยอะเกี่ยวกับช่วง B ช่วงขายสินค้า แต่ประเด็นหลักๆ ถ้าคุณจัดการกับข้อ 1 และ 2 ได้สบายๆ เรื่องอื่นๆในธุรกิจในอนาคตก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะข้อ 1 กับข้อ 2 นั้นยากที่สุดและเป็นตัววัดว่าธุรกิจจะเจ๊งหรือไม่นั่นเอง
การลงทุนเริ่มต้นครั้งแรก เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสร้างแบรนด์ครีม เพราะส่งผลถึงการทำธุรกิจต่างๆในอนาคต เช่น ตั้งราคาขาย ตั้งราคาเรทตัวแทน การจัดสรรเงินไปใช้ในการทำการตลาด เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ลงทุนก็ต้องยอมรับว่ายิ่งต้นทุนน้อย คุณภาพและเกรดของเนื้อครีมก็จะเท่ากับราคาที่คุณลงทุนด้วย จึงอยากจะมาสรุปคร่าว ๆ ว่าจะทำแบรนด์ทั้งที จะต้องเสียค่าใช้จ่ายกับอะไรบ้างนะคะ
- คุณภาพของสารสกัด
สารสกัดในท้องตลาดนั้นมีมากมายหลายเกรด ขึ้นอยู่กับคุณภาพและต้นทุนในการผลิต ซึ่งมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ยกตัวอย่างเช่น ครีมเกรดคุณภาพต่ำ ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 1000 – 3000 บาท ครีมเกรดคุณภาพกลาง ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 5000 – 8000 บาท ส่วนครีมคุณภาพเกรดสูง ที่เห็นผลลัพธ์ไม่ทำร้ายผิวซึ่งราคาก็จะอยู่ที่หลักหมื่นขึ้นไปนั่นเอง
ส่วนครีมราคาถูกมากๆ ที่เห็นกันตามเฟสบุ๊คหรือที่เราเรียกกันว่า ครีมกวน, ครีมดอนเมือง, ครีมกิโล ฯ ครีมพวกนี้ ถ้าคุณอยากทำธุรกิจระยะยาวก็ควรหลักเลี่ยง ไปใช้บริการโรงงานผลิตครีม 10 บริษัทด้านบนดีกว่าเพราะครีมเหล่านี้คุณภาพไม่คงที่ในแต่ละล็อต และอาจเสี่ยงเจอครีมที่ใส่สารอันตรายเช่น ปรอท สเตียรอยด์ ฯ อีกด้วย
- รูปแบบของแพคเกจครีม
หากรูปลักษณ์แพคเกจดูน่าเชื่อถือและดูดึงดูดก็มีความเป็นไปได้สูงที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าเพราะดูล่อตาล่อใจ ปกติแล้วอัตราส่วนของต้นทุน 15-25 % นั้นก็คือราคาของแพคเกจ ยิ่งแพคเกจมีเทคนิคในการผลิตหรือการพิมพ์ยาก ๆ และใช้วัสดุที่มีคุณภาพดีเท่าไหร ราคาของแพคเกจก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเองค่ะ บริษัทที่แนะนำ ก็มีหลากหลายบริษัท เช่น D2design | Nutaliq | Wisdompak | Dbale | SuayD เป็นต้น
- จำนวนการสั่งผลิต
โดยส่วนมากแล้วยิ่งเราผลิตมากเท่าไหร ราคาก็จะยิ่งถูกลง ในทางกลับกันถ้าสินค้ายิ่งมีการผลิตน้อยเท่าไหนต้นทุนก็ยิ่งสูง **แต่ถ้าคุณเพิ่งเริ่มสร้างแบรนด์ครีมของตัวเอง** แนะนำว่าให้ผลิตน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ไว้ก่อน เพราะยังไงกำไรต่อชิ้นมันสูงอยู่แล้ว ถ้าอยากสั่งจำนวนเยอะๆ เพื่อลดต้นทุนสินค้าต่อชิ้น แนะนำว่าสั่งในล็อตต่อๆไปดีกว่า
- ค่าการตลาด
ค่าการตลาดจะแตกต่างกันไป ตามความสามารถหรืออาวุธที่คุณมีอยู่แล้ว (อ่านที่ “สร้างแบรนด์ครีมเริ่มต้นอย่างไร ข้อ A” ด้านบน) แต่หลักๆ จะเป็นค่า โฆษณา Facebook, Google , ค่าพรีเซ็นเตอร์ , ค่าทำสื่อโฆษณาต่างๆ , ค่าพนักงานหรือผู้ช่วย ซึ่งต้องคำนวนกันดีๆ ให้หักลบกับยอดขายแล้วเหลือกำไร ซึ่งจะเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ หรือคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นนั้นบอกไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความขาดหวังส่วนบุคคล
สรุปเกี่ยวกับการลงทุนสร้างแบรนด์ครีมของตัวเอง
ในล็อตแรกควรลงทุน 50,000 บาท ขึ้นไป แต่อย่าให้เกิน 300,000 บาท
- เพราะถ้าถูกกว่า 50,000 แสดงว่าครีม หรือ องประกอบอื่นๆของคุณ อาจคุณภาพต่ำเกินไปที่จะสู้กับแบรนด์อื่นๆในท้องตลาดได้
- ถ้าเกิน 300,000 แสดงว่าคุณอาจสั่งเยอะเกินไป , ครีมราคาแพงเกินไป และเสี่ยงต่อการขาดทุน หากเกิดเหตุการณ์ ขายของไม่ออก การตลาดไม่ปัง
การลงทุนเริ่มต้นครั้งแรก เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสร้างแบรนด์ครีม เพราะส่งผลถึงการทำธุรกิจต่างๆในอนาคต เช่น ตั้งราคาขาย ตั้งราคาเรทตัวแทน การจัดสรรเงินไปใช้ในการทำการตลาด เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็น แบรนด์ครีมหน้าใส หรือครีมบำรุงหน้าต่าง ๆ นอกจากนี้ผู้ลงทุนก็ต้องยอมรับว่ายิ่งต้นทุนน้อย คุณภาพและเกรดของเนื้อครีมก็จะเท่ากับราคาที่คุณลงทุนด้วย จึงอยากจะมาสรุปคร่าว ๆ ว่าจะทำแบรนด์ทั้งที จะต้องเสียค่าใช้จ่ายกับอะไรบ้างนะคะ
- คุณภาพของสารสกัด
สารสกัดในท้องตลาดนั้นมีมากมายหลายเกรด ขึ้นอยู่กับคุณภาพและต้นทุนในการผลิต ซึ่งมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ยกตัวอย่างเช่น ครีมเกรดคุณภาพต่ำ ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 1000 – 3000 บาท ครีมเกรดคุณภาพกลาง ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 5000 – 8000 บาท ส่วนครีมคุณภาพเกรดสูง ที่เห็นผลลัพธ์ไม่ทำร้ายผิวซึ่งราคาก็จะอยู่ที่หลักหมื่นขึ้นไปนั่นเอง
ส่วนครีมราคาถูกมากๆ ที่เห็นกันตามเฟสบุ๊คหรือที่เราเรียกกันว่า ครีมกวน, ครีมดอนเมือง, ครีมกิโล ฯ ครีมพวกนี้ ถ้าคุณอยากทำธุรกิจระยะยาวก็ควรหลักเลี่ยง ไปใช้บริการโรงงานผลิตครีม 10 บริษัทด้านบนดีกว่าเพราะครีมเหล่านี้คุณภาพไม่คงที่ในแต่ละล็อต และอาจเสี่ยงเจอครีมที่ใส่สารอันตรายเช่น ปรอท สเตียรอยด์ ฯ อีกด้วย
- รูปแบบของแพคเกจครีม
หากรูปลักษณ์แพคเกจดูน่าเชื่อถือและดูดึงดูดก็มีความเป็นไปได้สูงที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าเพราะดูล่อตาล่อใจ ปกติแล้วอัตราส่วนของต้นทุน 15-25 % นั้นก็คือราคาของแพคเกจ ยิ่งแพคเกจมีเทคนิคในการผลิตหรือการพิมพ์ยาก ๆ และใช้วัสดุที่มีคุณภาพดีเท่าไหร ราคาของแพคเกจก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเองค่ะ บริษัทที่แนะนำ ก็มีหลากหลายบริษัท เช่น D2design | Nutaliq | Wisdompak | Dbale | SuayD เป็นต้น
- จำนวนการสั่งผลิต
โดยส่วนมากแล้วยิ่งเราผลิตมากเท่าไหร ราคาก็จะยิ่งถูกลง ในทางกลับกันถ้าสินค้ายิ่งมีการผลิตน้อยเท่าไหนต้นทุนก็ยิ่งสูง **แต่ถ้าคุณเพิ่งเริ่มสร้างแบรนด์ครีมของตัวเอง** แนะนำว่าให้ผลิตน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ไว้ก่อน เพราะยังไงกำไรต่อชิ้นมันสูงอยู่แล้ว ถ้าอยากสั่งจำนวนเยอะๆ เพื่อลดต้นทุนสินค้าต่อชิ้น แนะนำว่าสั่งในล็อตต่อๆไปดีกว่า
- ค่าการตลาด
ค่าการตลาดจะแตกต่างกันไป ตามความสามารถหรืออาวุธที่คุณมีอยู่แล้ว (อ่านที่ “สร้างแบรนด์ครีมเริ่มต้นอย่างไร ข้อ A” ด้านบน) แต่หลักๆ จะเป็นค่า โฆษณา Facebook, Google , ค่าพรีเซ็นเตอร์ , ค่าทำสื่อโฆษณาต่างๆ , ค่าพนักงานหรือผู้ช่วย ซึ่งต้องคำนวนกันดีๆ ให้หักลบกับยอดขายแล้วเหลือกำไร ซึ่งจะเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ หรือคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นนั้นบอกไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความขาดหวังส่วนบุคคล
สรุปเกี่ยวกับการลงทุนสร้างแบรนด์ครีมของตัวเอง
ในล็อตแรกควรลงทุน 50,000 บาท ขึ้นไป แต่อย่าให้เกิน 300,000 บาท
- เพราะถ้าถูกกว่า 50,000 แสดงว่าครีม หรือ องประกอบอื่นๆของคุณ อาจคุณภาพต่ำเกินไปที่จะสู้กับแบรนด์อื่นๆในท้องตลาดได้
- ถ้าเกิน 300,000 แสดงว่าคุณอาจสั่งเยอะเกินไป , ครีมราคาแพงเกินไป และเสี่ยงต่อการขาดทุน หากเกิดเหตุการณ์ ขายของไม่ออก การตลาดไม่ปัง
OEM คืออะไร?
OEM หรือ (Origianl Equipment Manufacturer) คือ ผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ให้บุคคลหรือบริษัททำแบรนด์ขายอีกที ปกติโรงงานประเภทนี้จะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ ตามแบบที่แบรนด์เป็นผู้กำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ หรือ จะไม่ตีตราก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าโดยโรงงานผู้ผลิตจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งทำให้ลูกค้าที่มาจ้างโรงงานผลิตนั้น ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยไม่ต้องถึงขั้นจัดตั้งโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรผลิตสินค้าเอง ทำให้ผู้จ้างผลิตมีความเสี่ยงน้อย ใช้เงินทุนในการผลิตไม่มาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่า แต่ต้นทุนการผลิตก็ไม่ได้ถือว่าถูกที่สุด เมื่อเทียบกับบริษัทที่มีโรงงานเป็นของตัวเอง สามารถผลิตสินค้าของตัวเองออกมาขายได้